คำขวัญเด็กปี2557
com544227
วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
กลอนวันพ่อ
กลอนวันพ่อ
ณ พื้นโลกแหล่งหล้าขอบฟ้ากว้าง
ได้เหยาะย่างเติบใหญ่ในเบื้องหน้า
ด้วยพระคุณแม่พ่อก่อเมตตา
สร้างศรัทธาโยงใยไปนิรันดร์
พ่อเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าฝ่าชีวิต
ลูกผูกติดยิ่งหนักเหลือเพื่อลูกขวัญ
พ่อทำได้ทนเพราะลูกรักผูกพัน
"พ่อ" คำนั้นดั่งร่มโพธิ์สุขโอฬาร ฯ
ได้เหยาะย่างเติบใหญ่ในเบื้องหน้า
ด้วยพระคุณแม่พ่อก่อเมตตา
สร้างศรัทธาโยงใยไปนิรันดร์
พ่อเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าฝ่าชีวิต
ลูกผูกติดยิ่งหนักเหลือเพื่อลูกขวัญ
พ่อทำได้ทนเพราะลูกรักผูกพัน
"พ่อ" คำนั้นดั่งร่มโพธิ์สุขโอฬาร ฯ
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
หมู่เกาะอ่างทอง

หมู่เกาะอ่างทอง ตั้งอยู่ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ 42 เกาะ ได้แก่ เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะหินดับ เกาะนายพุด และเกาะไผ่ลวก เป็นต้น ซึ่งตามเกาะต่าง ๆ จะมีหาดทรายอยู่เกือบทุกเกาะ บางเกาะหาดทรายมีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ บางเกาะมีปะการังตามชายทะเลหลายชนิด สีสวยงามหลากสี อยู่ท่ามกลางความเงียบสงบ
แหล่งท่องเที่ยวใน หมู่เกาะอ่างทอง ได้แก่ เกาะท้ายเพลาและเกาะวัวกันตัง เป็นจุดที่มีแนวปะการังและหาดทรายขาวสะอาด, เกาะวัวตาหลับ อยู่บริเวณอ่าวคา เป็นหาดทรายขาวสะอาดเหมาะแก่การเล่นน้ำ นอนเล่นพักผ่อนริมหาด เมื่อขึ้นไปจุดชมทิวทัศน์บนยอดเขา จะมองเห็นหมู่เกาะอ่างทองทั้งหมดที่ทอดตัวเรียงรายเป็นแนวยาวด้วยรูปร่างต่าง ๆ แปลกตา, เกาะหินดับ เป็นเกาะที่มีหาดทรายที่สวยงามและชายหาดที่ยาวที่สุดในอุทยานแห่งชาติ สภาพภูมิประเทศและทัศนียภาพรอบเกาะสวยงามน่าชม
ทะเลใน หรือ ทะเลสาบกลางภูเขา อยู่บน เกาะแม่เกาะ เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยเทือกเขาหินปูนที่สูงสลับ ซับซ้อนแต่มีอุโมงค์ใต้น้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล การกำเนิดของทะเลสาบน้ำเค็มนี้ได้มีการสันนิษฐานว่า เกิดจากการยุบตัวของหินชั้นล่างทำให้เกิดบ่อยุบ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับหมู่เกาะ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในกระบวนการเดียวกับการเกิดถ้ำ
ทั้งนี้ ช่วงเวลาระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของทุกปี เป็นช่วงฤดูมรสุม ทะเลจะมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไป หมู่เกาะอ่างทอง ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดปิดการท่องเที่ยวประจำปี ได้แก่ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 23 ธันวาคม ของทุกปี และจะเปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556
ประวัติและความเป็นมาของ มข
ประวัติ ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
"การตั้งมหาวิทยาขอนแก่นขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้น เป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนา ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควร จะยินดี"
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอุดมศึกษาสถานแห่งแรก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแม้กำเนิดของมหาวิทยาลัยจะมีแนวความคิดย้อนหลังไปได้ถึงก่อน สงครามโลกครั้งที่สอง แต่การเตรียมการก่อสร้างอย่างจริงจัง กระทำกันในรัฐบาล ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่เริ่ม พัฒนาภูมิภาคส่วนนี้ของประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2505 การลงมือก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 2507 โดยมีมติจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ขึ้นที่บ้านสีฐาน จังหวัดขอนแก่น และเสนอชื่อสถาบันนี้ว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Khon Kaen Institute of Technology มีชื่อย่อ K.I.T. โดยมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ เป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2509 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาของมหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510
มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภูมิภาค ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินดินลูกคลื่นสีแดง มีชื่อเรียกว่า "มอดินแดง" บนพื้นที่ประมาณ 5,500 ไร่ มีคณะวิชาที่ผลิตบัณฑิตจำนวน 22 คณะวิชา นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะ ประกอบด้วย ศูนย์ สถาบัน สำนัก ให้บริการวิชาการและบริการชุมชน มีที่ทำการไปรษณีย์ ศูนย์บริการ สหกรณ์ ร้านค้า หอพัก บ้านพัก แฟลต เรืองรับรอง ธนาคาร โรงเรียน และสาธารณูปโภคอื่นๆ เพื่อให้บริการแก่บุคลากร นักศึกษา และประชนชนทั่วไปอย่างครบครัน
ปณิธานและปรัชญา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์รวมการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นยึดมั่นในความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความสัมพันธ์กับนานาประเทศทั่วโลกเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศอินโดจีน เป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้ทางอินโดจีนอย่างแท้จริง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นกลไกในการพัฒนาให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการทุกสาขา รวมทั้งการวางรากฐานให้เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของภูมิภาคโดยอาศัยความร่วม มือ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น พึงเป็นผู้ที่กอปรด้วย วิทยา จริยา และปัญญา อันที่จะสามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภูมิภาคแก่ประเทศชาติ และขยายสู่ความเป็นสากลต่อไป
ตราประจำมหาวิทยาลัย
Download ai-ขาวดำ | ai-สี | psd |
เป็นรูปเทพยดากระหนาบองค์พระธาตุพนมอัญเชิญมิ่งมงคลประทานแก่สถาบัน สถิตเหนือขอนไม้ ซึ่งสลักเป็นชื่อมหาวิทยาลัย พื้นหลังแบ่งเป็น 3 ช่อง มีความหมายถึง คุณธรรมของนักศึกษา 3 ประการ ได้แก่ วิทยา คือ ความรู้ดี จริยา คือ ความประพฤติดี ปัญญา คือความฉลาด เกิดแต่การเรียนดี และคิดดี
สีประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ สีดินแดง อันมีความหมายโยงไปถึงลักษณะ และภูมินามของพื้นที่ซึ่งเป็นเนินดินลูกคลื่นสีแดงหรือที่เรียกว่า "มอดินแดง" อันซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
ประวัติ มมส
ประวัติ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)