วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติและความเป็นมาของ มข

ประวัติ ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น "การตั้งมหาวิทยาขอนแก่นขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้น เป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนา ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควร จะยินดี" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอุดมศึกษาสถานแห่งแรก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแม้กำเนิดของมหาวิทยาลัยจะมีแนวความคิดย้อนหลังไปได้ถึงก่อน สงครามโลกครั้งที่สอง แต่การเตรียมการก่อสร้างอย่างจริงจัง กระทำกันในรัฐบาล ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่เริ่ม พัฒนาภูมิภาคส่วนนี้ของประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2505 การลงมือก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 2507 โดยมีมติจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ขึ้นที่บ้านสีฐาน จังหวัดขอนแก่น และเสนอชื่อสถาบันนี้ว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Khon Kaen Institute of Technology มีชื่อย่อ K.I.T. โดยมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ เป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2509 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาของมหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภูมิภาค ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินดินลูกคลื่นสีแดง มีชื่อเรียกว่า "มอดินแดง" บนพื้นที่ประมาณ 5,500 ไร่ มีคณะวิชาที่ผลิตบัณฑิตจำนวน 22 คณะวิชา นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะ ประกอบด้วย ศูนย์ สถาบัน สำนัก ให้บริการวิชาการและบริการชุมชน มีที่ทำการไปรษณีย์ ศูนย์บริการ สหกรณ์ ร้านค้า หอพัก บ้านพัก แฟลต เรืองรับรอง ธนาคาร โรงเรียน และสาธารณูปโภคอื่นๆ เพื่อให้บริการแก่บุคลากร นักศึกษา และประชนชนทั่วไปอย่างครบครัน ปณิธานและปรัชญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์รวมการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นยึดมั่นในความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความสัมพันธ์กับนานาประเทศทั่วโลกเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศอินโดจีน เป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้ทางอินโดจีนอย่างแท้จริง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นกลไกในการพัฒนาให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการทุกสาขา รวมทั้งการวางรากฐานให้เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของภูมิภาคโดยอาศัยความร่วม มือ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น พึงเป็นผู้ที่กอปรด้วย วิทยา จริยา และปัญญา อันที่จะสามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภูมิภาคแก่ประเทศชาติ และขยายสู่ความเป็นสากลต่อไป ตราประจำมหาวิทยาลัย Download ai-ขาวดำ | ai-สี | psd | เป็นรูปเทพยดากระหนาบองค์พระธาตุพนมอัญเชิญมิ่งมงคลประทานแก่สถาบัน สถิตเหนือขอนไม้ ซึ่งสลักเป็นชื่อมหาวิทยาลัย พื้นหลังแบ่งเป็น 3 ช่อง มีความหมายถึง คุณธรรมของนักศึกษา 3 ประการ ได้แก่ วิทยา คือ ความรู้ดี จริยา คือ ความประพฤติดี ปัญญา คือความฉลาด เกิดแต่การเรียนดี และคิดดี สีประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ สีดินแดง อันมีความหมายโยงไปถึงลักษณะ และภูมินามของพื้นที่ซึ่งเป็นเนินดินลูกคลื่นสีแดงหรือที่เรียกว่า "มอดินแดง" อันซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย

ประวัติ มมส

ประวัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย

รับตรง มมส

กำหนดการรับตรงของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตอนนี้ก็ได้ออกมาแล้ว เพื่อให้น้องๆ ที่จะเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2557 นี้ ได้เตรียมตัวให้พร้อมกับศึกครั้งนี้ รายละเอียดเป็นอย่างไรบ้างไปดูกันเลย คณะที่เปิดรับตรงปี 2557 (อย่างไม่เป็นทางการ) - คณะแพทยศาสตร์ - คณะเภสัชศาสตร์ - คณะพยาบาลศาสตร์ - คณะสาธารณสุขศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะเทคโนโลยี - คณะสัตวแพทยศาสตร์ - คณะวิทยาการสารสนเทศ - คณะวิศวกรรมศาสตร์ - คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ - คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ - คณะการบัญชีและการจัดการ - คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - วิทยาลัยการเมืองการปกครอง - คณะศึกษาศาสตร์ - คณะศิลปกรรมศาสตร์ - วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ องค์ประกอบการรับสมัคร (แบ่งออกเป็น 2 ส่วน) ส่วนที่ 1 คิดเป็น 100 % - องค์ประกอบที่ 1 ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตามที่สาขากำหนด คิดเป็น 10 % - องค์ประกอบที่ 2 ผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ คิดเป็น 20 % - องค์ประกอบที่ 3 ค่าน้ำหนักคะแนนมาตรฐาน GAT-PAT จากการสอบ GAT-PAT 1/2557 (สอบเดือนธันวาคม 2556) ตามที่สาขาวิชากำหนด คิดเป็น 70 % ส่วนที่ 2 การสอบสัมภาษณ์โควตารับตรงทั่วประเทศ ซึ่งการพิจารณาอยู่ในดุลยพินิจของกรรมการ กำหนดการรับสมัคร 1-30 พ.ย.56 - รับสมัครผ่านทางเว็บไซต์ www.acad.msu.ac.th 16-20 ธ.ค.56 - รับใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครรับตรงปี 2557 ณ หน่วยรับสมัคร ดังนี้ เส้นทางที่ 1 – โรงเรียนเลยพิทยาคม จังหวัดเลย (16 ธันวาคม 2556) – โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จังหวัดหนองบัวลำภู (17 ธันวาคม 2556) – โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย (18 ธันวาคม 2556) – โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี (19 ธันวาคม 2556) – โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น (20 ธันวาคม 2556) เส้นทางที่ 2 - โรงเรียนบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ (16 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม (17 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร (18 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร (19 ธันวาคม 2556) เส้นทางที่ 3 - โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ (16 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ (17 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ (18 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา (19 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนสตรีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ (20 ธันวาคม 2556) เส้นทางที่ 4 - โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี (16 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ (17 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร (18 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด (19 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (20 ธันวาคม 2556) 22-23 ธ.ค.56 - ทางมหาวิทยาลัยรับใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีระบบรับตรง ประจำปีการศึกษา 2557 (กรณีโรงเรียนรวบรวมส่งโดยเรียงชุดใบสมัครคัดเลือกฯ ตามเลขที่ใบสมัครจากน้อยไปหามาก) 8-10 ม.ค.57 - ตรวจสอบรายชื่อและขอแก้ไขข้อมูลของผู้สมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบรับตรงผ่านอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.acad.msu.ac.th ทั้งนี้ ผู้สมัครไม่สามารถขอแก้ไขสาขาวิชาที่สมัครได้ 11 ก.พ.57 - ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ประเภทโควตารับตรงทั่วประเทศ ประจำปีการศึกษา 2557 ผ่านเว็บไซต์ www.acad.msu.ac.th 18 ก.พ.57 - สอบสัมภาษณ์ประเภทโควตารับตรงทั่วประเทศ 25 ก.พ.57 - ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาผ่าน www.msu.ac.th สามารถติดตามระเบียบการฉบับเต็ม ได้จากเว็บไซต์ http://www.acad.msu.ac.th/

สถานที่ท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ ชมทิวทัศน์,ชมประวัติศาสตร์,ล่องแพ/ล่องเรือ,เดินป่าศึกษาธรรมชาติ,เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา,เที่ยวน้ำตก แหล่งท่องเที่ยวได้แก่ ถ้ำเรขาคณิต และถ้ำมึ้ม, ทิวทัศน์ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์และเกาะแก่งต่าง ๆ, หามต่าง หรือหามตั้ง, น้ำตกตาดฟ้า, รอยเท้านายพรานและรอยตีนหมา, หอสวรรค์ [ อ่านต่อ ] อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง เป็นภูเขาสลับซับซ้อน โค้งเป็นวงล้อมรอบที่ราบซึ่งมีป่าไม้นานาพันธุ์ และสัตว์ป่านานาชนิด มีน้ำตกสวยงาม และมีการค้นพบซากไดโนเสาร์อยู่หลายแห่งในบริเวณเขตอุทยานมีสองพันธ์ คือ พันธุ์กินพืช ชื่อ ซอโรพอต มีการตั้งชื่อว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" และพันธุ์กินเนื้อ ชื่อ "ไทเรนโนเสาร์" และมีการตั้งชื่อว่า "สยามโอไทเรนนัส อีสานเอนซิส" มีพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีสลักไว้บนหน้าผาก รถยนต์เข้าถึงได้ แหล่งท่องเที่ยวได้แก่ ซากไดโนเสาร์, พระพุทธไสยาสน์, ถ้ำฝ่ามือแดง, ถ้ำคนนอน, ร่องน้ำจั่น, น้ำตกทับพญาเสือ, น้ำตกตาดจำปา, ทุ่งกูกติ, น้ำตกตาดกลาง, น้ำตกตาดฟ้า, ทุ่งใหญ่เสาอาราม, อ่างเก็บน้ำหัวภูชน, หินลาดกกกุ่ม, สุสานหอย, ถ้ำหินลาดหัวเมย,น้ำตกวังสักสิ่ว, น้ำตกตาดฮางริน, หินลาดป่าชาด, น้ำตกซำจำปา, โปร่งยุบ [ อ่านต่อ ] อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน รูปลักษณ์ภายนอกของอุทยานแห่งนี้คือเทือกเขาหินปูนที่มีหน้าผาตัดตรงดิ่งลงมาเป็นริ้วๆคล้ายผ้าม่าน สภาพป่าของที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดิบ และป่าไม้เบญจพรรณ สภาพอากาศจะเย็นชื้นเกือบตลอดปี อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 218, 750 ไร่ ครอบคลุมอาณาบริเวณในอำเภอภูผาม่าน และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย แหล่งท่องเที่ยวได้แก่ ถ้ำลายแทง, ถ้ำผาพวง, ถ้ำพญานาคราช, ถ้ำภูตาหลอ, น้ำตกตาดฮ้อง, น้ำตกตาดฟ้า, น้ำตกพลาญทอง, น้ำตกตาดใหญ่, ถ้ำค้างคาว [ อ่านต่อ ] อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ,ชมทิวทัศน์,ชมประวัติศาสตร์,ชมพรรณไม้,ล่องแพ/ล่องเรือ,เดินป่าระยะไกล,เดินป่าศึกษาธรรมชาติ,เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา,เที่ยวน้ำตก,แค็มป์ปิ้ง,แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์, จุดชมทิวทัศน์หินช้างสี, พลาญชาด หรือ ลานชาด, คำโพน, ผาสวรรค์, เขาภูเม็ง, ผาฝ่ามือแดง, ผาจันได, น้ำตกห้วยเข [ อ่านต่อ ] วนอุทยานน้ำตกบ๋าหลวง เดินป่าศึกษาธรรมชาติ,เที่ยวน้ำตก [ อ่านต่อ ] เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน สร้างกั้นลำน้ำพอง ตรงช่องตเขาแนวต่อของเทือกเขาภูพานและภูพานคำ บริเวณเขื่อนมีทิวทัศน์สวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการท่องเที่ยวครบครัน เป็นที่นิยมไปพักผ่อนกันมากตลอดเวลา [ อ่านต่อ ] บึงแก่นนคร อยู่ในเมืองขอนแก่น พื้นที่ประมาณ 600 ไร่เศษ เป็นสถานที่พักผ่อนของคนในเมือง [ อ่านต่อ มีวีดีโอคลิป ]

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยวของภาคอีสาน

อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอยมีพื้นที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอบุณฑริกอำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาหรือที่เรียกว่า สามเหลี่ยมมรกตพื้นที่เป็นภูเขาในเทื... อุทยานแห่งชาติผาแต้มได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโพธิ์ไทรมีพื้นที่ติดกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเ... อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะมีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียมภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดงต้นไม้ในป่ามี... หอไตรหนองขุหลุตั้งอยู่ที่บ้านขุหลุ ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล เป็นหอไตรที่ตั้งอยู่ในหนองน้ำ หนองขุหลุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2459-2461 โดยหลวงปุ่สิงห์ เจ้าอาวาสวัดโ... วัดหนองป่าพงตั้งอยู่ที่บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบเป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบเหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 หลวงปู... วัดภูหล่นตั้งอยู่ที่ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ ห่างจากตัวอำเภอ 20 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 78 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2135 บริเวณกิโลเมตรที่ 31-32 เส้นอำเนาจเจริ...